วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ภาคอีสาน

ภาคอีสาน หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเขตหรือภาคหนึ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นเขตทางตอนเหนือและตะวันออกของภาค ทางด้านใต้จรดชายแดนกัมพูชา ทางตะวันตกมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นแยกจากภาคเหนือและภาคกลาง

ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง ภูพานและภูกระดึงซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม

ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสานซึ่งเป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่ง ส่วนภาษาไทยกลางนิยมใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทยโคราช เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เช่น อาหาร ภาษา ดนตรีหมอลำ และศิลปะการฟ้อนรำที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น

จังหวัดในภาคอีสาน
ภาคอีสานมีทั้งหมด 20 จังหวัด ตามราชบัณฑิตยสถาน และตามคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ[1] ได้แก่

จังหวัดกาฬสินธุ์ (เดิมชื่อ เมืองฟ้าแดดสงยาง)
จังหวัดขอนแก่น (เดิมชื่อ เมืองขามแก่นนคร)
จังหวัดชัยภูมิ (เดิมชื่อ เมืองไชยภูมิ์)
จังหวัดนครพนม (เดิมชื่อ เมืองนครบุรีราชธานี, เมืองศรีโคตรบูร, เมืองละคร)
จังหวัดนครราชสีมา (เดิมชื่อ เมืองโคราฆะปุระและเมืองเสมา)
จังหวัดบึงกาฬ (เดิมชื่อ เมืองกาฬวาปี)
จังหวัดบุรีรัมย์ (เดิมชื่อ เมืองแปะ)
จังหวัดมหาสารคาม (เดิมชื่อ เมืองตักกศิลานคร)
จังหวัดมุกดาหาร (เดิมชื่อ เมืองมุกดาหารบุรี, เมืองบังมุก)
จังหวัดยโสธร (เดิมชื่อ เมืองยศสุนทร, เมืองสิงห์โคกสิงห์ท่า)
จังหวัดร้อยเอ็ด (เดิมชื่อ เมืองสาเกตุนคร, เมืองฮ้อยเอ็ดประตู)
จังหวัดเลย (เดิมชื่อ เมืองเซไล)
จังหวัดศรีสะเกษ (เดิมชื่อ เมืองสระกำแพงโนนสามขา)
จังหวัดสกลนคร (เดิมชื่อ เมืองสกลทวาปี, เมืองหนองหานหลวง)
จังหวัดสุรินทร์ (เดิมชื่อ เมืองคูประทายสมันต์)
จังหวัดหนองคาย (เดิมชื่อ เมืองหล้าหนองคาย)
จังหวัดหนองบัวลำภู (เดิมชื่อ เมืองนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน, เมืองจำปากาบแก้วนคร, เมืองกมุทาสัย)
จังหวัดอำนาจเจริญ (เดิมชื่อ เมืองอำนาจเจริญ, บ้านค้อใหญ่ )
จังหวัดอุดรธานี (เดิมชื่อ บ้านเดื่อหมากแข้ง)
จังหวัดอุบลราชธานี (เดิมชื่อ เมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช)
สถิติประชากร
อันดับ จังหวัด จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2556)[2] จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2555) [3] ! จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2554) [4] จำนวน (คน)
(31 ธันวาคม 2553) [5]
1 นครราชสีมา 2,610,164 2,605,014 2,585,325 2,582,089
2 อุบลราชธานี 1,836,523 1,826,920 1,816,057 1,813,088
3 ขอนแก่น 1,781,655 1,774,816 1,766,066 1,767,601
4 บุรีรัมย์ 1,573,438 1,566,740 1,559,085 1,553,765
5 อุดรธานี 1,563,964 1,557,298 1,548,107 1,544,786
6 ศรีสะเกษ 1,462,028 1,458,370 1,452,203 1,452,471
7 สุรินทร์ 1,388,194 1,386,277 1,380,399 1,381,761
8 ร้อยเอ็ด 1,308,958 1,308,570 1,305,058 1,309,708
9 ชัยภูมิ 1,135,723 1,133,034 1,127,423 1,127,423
10 สกลนคร 1,134,322 1,129,174 1,123,351 1,122,905
11 กาฬสินธุ์ 984,030 985,084 981,655 982,578
12 มหาสารคาม 955,644 945,149 939,736 940,911
13 นครพนม 710,860 708,350 704,768 703,392
14 เลย 632,205 629,787 624,920 624,066
15 ยโสธร 540,383 540,267 538,853 539,257
16 หนองคาย 514,943 512,439 509,870 509,395
17 หนองบัวลำภู 507,137 505,071 502,551 502,868
18 บึงกาฬ 416,236 412,613 407,634 403,542
19 อำนาจเจริญ 374,698 373,494 372,241 372,137
20 มุกดาหาร 344,302 342,868 340,581 339,575
— รวม 21,775,407 21,701,335 21,585,883 21,573,318
เมืองใหญ่ของอีสานเรียงตามประชากร
เทศบาลนครนครราชสีมา ประชากร 162,799 คน
เทศบาลนครอุดรธานี ประชากร 137,948 คน
เทศบาลนครขอนแก่น ประชากร 113,754 คน
เทศบาลนครอุบลราชธานี ประชากร 105,081 คน
เทศบาลนครสกลนคร ประชากร 53,877 คน
เทศบาลเมืองมหาสารคาม ประชากร 46,523 คน
เทศบาลเมืองหนองคาย ประชากร 46,180 คน
เทศบาลเมืองสุรินทร์ ประชากร 43,008 คน
เทศบาลเมืองศรีสะเกษ ประชากร 41,680 คน
เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ประชากร 37,646 คน
เทศบาลเมืองชัยภูมิ ประชากร 37,477 คน
เทศบาลเมืองปากช่อง ประชากร 36,871 คน
เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ประชากร 34,660 คน
เทศบาลเมืองมุกดาหาร ประชากร 34,486 คน
เทศบาลเมืองชุมแพ ประชากร 32,300 คน
เทศบาลเมืองบ้านไผ่ ประชากร 30,684 คน
เทศบาลเมืองวารินชำราบ ประชากร 30,360 คน
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ประชากร 28,308 คน
เทศบาลเมืองนครพนม ประชากร 28,205 คน
เทศบาลเมืองอำนาจเจริญ ประชากร 25,987 คน
เทศบาลเมืองหนองสำโรง ประชากร 24,977 คน
เทศบาลเมืองเลย ประชากร 22,531 คน
เทศบาลเมืองยโสธร ประชากร 21,039 คน
เทศบาลเมืองหนองบัวลำภู ประชากร 20,923 คน
เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ ประชากร 20,175 คน
เทศบาลเมืองเดชอุดม ประชากร 14,386 คน
เทศบาลเมืองเมืองพล ประชากร 12,083 คน
เทศบาลเมืองกระนวน ประชากร 11,031 คน
เทศบาลเมืองบัวขาว ประชากร 11,803 คน
เทศบาลเมืองท่าบ่อ ประชากร 18,503 คน
เทศบาลเมืองโนนสูง-น้ำคำ ประชากร 10,073 คน
เทศบาลเมืองบ้านดุง ประชากร 16,003 คน
เทศบาลเมืองสีคิ้ว ประชากร 18,390 คน
เทศบาลเมืองนางรอง ประชากร 21,274 คน
เทศบาลเมืองชุมเห็ด ประชากร 20,193 คน
เทศบาลเมืองวังสะพุง ประชากร 12,374 คน
ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยรัฐ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี วิทยาเขตมุกดาหาร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
มหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (มร.อด.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (มรม.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (มรล.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์การศึกษาขอนแก่น (มรล.ขก.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (มร.สน.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (มร.นม.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (มรภ.บร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (มรภ.สร.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (มรภ.อบ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ (มกส.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ (มชย.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด (มรภ.รอ.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (มรภ.ศก.)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตอุดรธานี (มร.สส.อด.)
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง จังหวัดขอนเลย
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
สถาบันอุดมศึกษาระบบเปิด
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติอุดรธานี
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรตินครพนม
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติหนองบัวลำภู
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติขอนแก่น
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรตินครราชสีมา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติสุรินทร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติศรีสะเกษ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนามสธ.อุดรธานี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ศูนย์วิทยพัฒนามสธ.อุบลราชธานี
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
สถาบันการบินพลเรือน ศูนย์ฝึกการบินแห่งที่2 จังหวัดขอนแก่น (ยกเลิกแล้ว)
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตศรีสะเกษ
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอุดรธานี
มหาวิทยาลัยเอกชน
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา วิทยาเขตสุรินทร์
มหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา วิทยาเขตบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชธานี
มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วิทยาลัยเอกชน
วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
วิทยาลัยนครราชสีมา
วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์
วิทยาลัยพิชญบัณฑิต
วิทยาลัยสันตพล
วิทยาลัย
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ขอนแก่น
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อุบลราชธานี
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
ท่าอากาศยานพาณิชย์
เรียงตามจำนวนผู้โดยสารและเที่ยวบินที่เข้าใช้บริการ

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
ท่าอากาศยานนานาชาติอุบลราชธานี
ท่าอากาศยานขอนแก่น
ท่าอากาศยานสกลนคร
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์
ท่าอากาศยานนครพนม
ท่าอากาศยานเลย
ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด
ท่าอากาศยานนครราชสีมา
ท่าอากาศยานสุรินทร์ภักดี
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
อุทยานแห่งชาติตาดโดน
อุทยานแห่งชาติตาพระยา
อุทยานแห่งชาติไทรทอง
อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
อุทยานแห่งชาติน้ำพอง
อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ
อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย
อุทยานแห่งชาติภูเรือ
อุทยานแห่งชาติภูแลนคา
อุทยานแห่งชาติภูเวียง
อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน
อุทยานแห่งชาติภูผายล
อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก
อุทยานแห่งชาติภูพาน
อุทยานแห่งชาติภูลังกา
อุทยานแห่งชาติภูสระดอกบัว
อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร
อุทยานประวัติศาสตร์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมภ์
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จังหวัดนครราชสีมา
อุทยานประวัติศาสตร์กลุ่มปราสาทตาเมือนและปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท จังหวัดอุดรธา

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558

ภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้า   เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดเชียงราย   และเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางที่ชอบความสวยงามของธรรมชาติและยังพอเรี่ยวแรงที่ฝันอยากจะมาสัมผัสกับความงามของสถานที่แห่งนี้สักครั้งในชีวิต   ภูชี้ฟ้า   ถ้าพูดถึงความหนาวเย็นก็คงจะไม่แตกตางอะไรมากหนักกับหลาย ๆ ดอยสูงทางภาคเหนือของไทย   แต่สิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับยอดภูแห่งนี้มาตลอดและสร้างความประทับใจให้กับผู้ที่มาพบเห็น   ก็คือ   ความสวยงามแปลกตาของหน้าผาสูงที่ยื่นเด่นลอยออกไปในอากาศ   สายลมหนาวที่วูบผ่านมาแล้วเลยผ่านไป   ทิวทัศน์เบื้องล่างคือ ภาพทะเลหมอกและภาพของดวงอาทิตย์สีแดง ที่กำลังเบียดเสียดแทรกตัวออกมาท่ามกลางทะเลหมอกหนา และหุบเขาน้อยใหญ่   ภาพความสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้   ได้กลายเป็นสิ่งที่ดึงดูดผู้คนมากมายให้หลั่งไหลมาที่นี่   ในแต่ละปีเมื่อลมหนาวมาเยือนจะมีนักท่องเที่ยวมากมายจากทั่วทุกสารทิศ   เดินทางมาสัมผัสกับอากาศหนาวและชมความงามของทะเลหมอกยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   อย่างไม่ขาดสาย   โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว   บนยอดดอยสูงแห่งนี้แทบไม่มีที่ยืนถ่ายรูป   ทะเลหมอกและพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่ภูชี้ฟ้า   ได้รับการกล่าวขานว่าสวยงามกว่าที่ใด ๆ ในประเทศ   บริเวณทางเดินขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้า   เป็นทุ่งหญ้ากว้าง   มีทุ่งดอกโคลงเคลงขึ้นแซมเป็นระยะ   ออกดอกสีชมพูอมม่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม – มกราคม    ช่วงเพิ่มความสวยงามให้กับยอดภูแห่งนี้ได้อีกไม่ใช่น้อย   ระหว่างทางขึ้นมายังภูชี้ฟ้ายังต้องผ่านภูเขาที่มีวิวทิวทัศน์งดงาม หากมาในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์จะได้ชมความงามของดงดอกเสี้ยวที่ออกดอกสีขาวอมชมพูบานสะพรั่งระหว่างทางขึ้นสู่ภูชี้ฟ้า

คลิกภาพชมภาพภูชี้ฟ้า เต็มๆ ตา

สิ่งอำนวยความสะดวก รีสอร์ท ที่พักภูชี้ฟ้า

ภูชี้ฟ้ามีที่พักเป็นไว้บริการมากมายหลายที่   แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว   แต่ละที่ล้วนตั้งอยู่บนเนินเขา สามารถมองเห็นวิวทะเลภูเขาได้สวยงาม   บางแห่งสามารถชมวิวพระอาทิตย์ตกดินได้อีกด้วย   หรือหากจะต้องการบรรยากาศแบบแค้มปิ้งทางรีสอร์ทบางแห่งก็มีเต็นท์ไว้บริการราคาไม่แพง   หรือหากนำเต็นท์มาเองก็สามารถใช้พื้นที่ที่ทางวนอุทยานภูชี้ฟ้าได้จัดเตรียมไว้ให้ก็ได้   การมาเที่ยวยังภูชี้ฟ้า   นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมพักรีสอร์ทแถวเชิงภู   จากนั้นค่อยตื่นแต่   เช้า ๆ สักประมาณ ตี ๕ แล้วออกเดินทางขึ้นไปชมความงามของทะเลหมอกกัน   นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ ๆ กับภูชี้ฟ้าสามารถเที่ยวควบกันได้   ได้แก่ ดอยผาตั้ง สถานีเกษตรดอยผาหม่น น้ำตกภูซาง และวัดเก่าแก่ต่างๆ ในเขตอำเภอเชียงคำ

การเดินทาง

ภูชี้ฟ้า อยู่ห่างจากเชียงราย ๑๑๑ กิโลเมตร ปัจจุบันการมาเที่ยวภูชี้ฟ้าสะดวกสบาย   สามารถเดินทางมาได้โดยรถยนต์ จนถึงลานจอดรถบนภู จากนั้น เดินเท้าขึ้นขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้าเพียงแค่ ๗๐๐ เมตร ภูชี้ฟ้า การเดินทาง 

แผนที่เส้นทางจากเชียงรายไปยังภูชี้ฟ้าสามารถไปได้หลายเส้นทาง ยกตัวอย่างมาให้ 3 เส้นทาง เส้นทางสีฟ้าเป็นเส้นทางหลักไกลหน่อยแต่ถนนกว้างวิ่งสบาย เส้นทางถัดไปเป็นเส้นทางที่สั้นกว่าแต่ถนนจะแคบกว่าเส้นทางแรก ทุกเส้นทางก็จะมาบรรจบกันที่สามแยกบ้านแผ่นดินทอง หากใช้เส้นทางสีฟ้าก่อนจะถึงแยกหมู่บ้านแผ่นเดินทองจะมีอีกแยกหนึ่งซึ่งระยะทางสั้นกว่า เรียกว่าแยกปางค่า แต่สภาพถนนเหมือนกับโลกพระจันทร์สุดจะบรรยาย

ภาคเหนืออ

....ภาคเหนือเป็นภูมิภาคหนึ่งของไทยอยู่ทางตอนเหนือของประเทศมีเขตแดนทางตอนเหนือติดกับชายแดนพม่าและลาวทางตะวันออกจรดชายแดนลาวและภาคอีสานทางตะวันตกจรดพม่าและทางใต้ติดกับภาคกลาง
การแบ่งเขตการปกครอง
.....ภูมิประเทศของภาคเหนือเต็มไปขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อน โดยเฉพาะบริเวณตอนเหนือสุด เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และน่าน โดยมีจุดสูงสุดของภาค (และของประเทศ) อยู่ที่ดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตอนเหนือของภาคนั้นจะมีภาษาไทยที่มีสำเนียงเป็นของตนเองเรียกว่า คำเมือง
จังหวัดในภาคเหนือถ้าจะแบ่งตามความคุ้นเคยของชาวไทยจะมีด้วยกัน 9 จังหวัด ดังนี้
1. เชียงราย (โยนกเชียงแสน)...........2. เชียงใหม่ (นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่)
3. น่าน(นันทบุรีศรีนครน่าน) ..........4. พะเยา (ภูกามยาว) .....
5. แพร่ (เวียงโกศัย) ......................6. แม่ฮ่องสอน (พุกาม) .....
7. ลำปาง (เขลางค์นคร) ...............8. ลำพูน (หริภุญชัย) .....
9. อุตรดิตถ์ (สวางคบุรี)

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเรียกใช้งานโปรแกรม Adobe Dreamweaveer CS5 

การเรียกใช้งานโปรแกรม Adobe Dreamweaveer CS5 ขึ้นมาใช้งานทำได้ดังนี้
วิธีที่ 1 เรียกผ่าน Start โดยการคลิกที่ปุ่ม Start >>All Program >>Adobe Design Premium CS5>> Adobe Dreamweaver CS5
Dreamweaver-CS5-2
วิธีที่ 2 เรียกผ่านไอคอนบนเดสก์ทอปโดยการดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน
วิธีที่ 3 เรียกผ่านช่องค้นหา search program and file พิมพ์คำว่า ” Dreamweaveer CS5 “ ลงในช่อง แล้วกดปุ้ม Enter
Dreamweaver-CS5-13
เมื่อคลิกเลือกเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้วจะปรากฏ Welcome Screen ดังรูป
Dreamweaver-CS5-3
Welcome Screen เป็นหน้าต่างสำหรับเลือกขั้นตอนการเริ่มใช้งานโปรแกรม ซึ่งจะมีตัวเลือกออกเป็นกลุ่มๆ คือ
A : Open a Recent Item เป็นการเปิดไฟล์งานที่เคยใช้งานแล้ว โดยจะมีรายชื่อไฟล์งานแสดงอยู่เรียงลำดับจากที่เปิดใช้งานล่าสุดเป็นต้นไป หรือจะเลือกไฟล์อื่นที่ Open ก็ได้
B : Create New เป็นการสร้างไฟล์งานใหม่ โดยปกติแล้วในส่วนนี้จะเลือกที่ HTML ซึ่งเป็นการสร้างเว็บเพจพื้นฐาน แต่ถ้าเลือกหัวข้ออื่น หน้าเว็บเพจนั้นก็จะเป็นไฟล์ตามชนิดที่เลือกใช้งาน เช่น ไฟล์งาน PHP, ASP และ JavaScript เป็นต้น
C : Top Features (videos) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเข้าไปดูรายละเอียดและเทคนิคต่างๆ ของการใช้งานโปรแกรมผ่านทางเว็บไซต์ของ Adobe
D : เป็นส่วนของการเปิดดูคำแนะนำในการใช้งานโปรแกรม
E : เป็นส่วนสำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมหรือดูข้อมูลบนเว็บไซต์ของ Adobe
มุมมองการทำงาน
เมื่อเปิดเรียกใช้งานโปรแกรมขึ้นมาแล้วจะพบหน้าต่างการใช้งานดังรูป (ในที่จะเลือกเป็นแบบ Create new แล้วเลือกเป็นไฟล์ HTML) จะได้หน้าต่างเอกสาร(Document)
Dreamweaver-CS5-4
หน้าต่างเอกสาร(Document window) คือ ส่วนที่ใช้สำหรับใส่เนื้อหาพร้อมทั้งการจัดองค์ประกอบหน้าเว็บเพจ โดยการใช้งานนั้นจะมีการทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ทั่วไป คือ พิมพ์ข้อความ แทรกรูปภาพ สร้างตาราง เมื่อออกแบบและตกแต่งแล้วผลลัพธ์ที่แสดงออกมาบนบราวเซอร์ก็จะปรากฏเช่นนั้นด้วย
มุมมองการทำงานของหน้าต่างเอกสารมีอยู่ 6 มุมมอง ดังรูป ซึ่งสามารถคลิกสลับการทำงานได้ตามต้องการ
Dreamweaver-CS5-5
– มุมมองโค้ด (Code view) เป็นการแสดงมุมมองของเว็บเพจในรูปแบบของชุดคำสั่งภาษา HTML ทั้งเอกสาร ซึ่งถูกสร้างจากโปรแกรม Dreamweaver อัตโนมัติ เหมาะสำหรับเขียนโค้ดคำสั่งเพิ่มเติม อาจจะเป็นคำสั่ง JavaScript หรือ CSS ก็ได้
Dreamweaver-CS5-6
– มุมมองโค้ดและออกแบบ (Code and Design หรือ Split) เป็นการแสดงมุมมองของเว็บเพจทั้งโค้ด HTML และงานออกแบบบนหน้าเอกสาร โดยมีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในหน้าเดียวกัน
Dreamweaver-CS5-7
– มุมมองออกแบบ (Design view) เป็นการแสดงมุมมองของเว็บเพจในลักษณะของการออกแบบซึ่งจะปรากฏผลลัพธ์ทางบราวเซอร์ในลักษณะเดียวกัน
Dreamweaver-CS5-8
– มุมมองแสดงผลโค้นหน้าเว็บ (Live Code) มุมมองนี้จะแสดงผลร่วมกับมุมมอง Live View โดยจะแสดงมุมมอง Live Code ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมุมมอง Livwe View เท่านั้น ซึ่งจะใช้ตรวจสอบดูโค้ดในตำแหน่งต่างๆ ไม่สามารถที่จะแก้ไขโค้ดในมุมมองนี้ได้
Dreamweaver-CS5-9
- มุมมองแสดงผลโค้นหน้าเว็บ (Live Code) มุมมองนี้จะแสดงผลร่วมกับมุมมอง Live View โดยจะแสดงมุมมอง Live Code ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในมุมมอง Livwe View เท่านั้น ซึ่งจะใช้ตรวจสอบดูโค้ดในตำแหน่งต่างๆ ไม่สามารถที่จะแก้ไขโค้ดในมุมมองนี้ได้
- มุมมองแสดงหน้าเว็บเหมือนดูจากบราวเซอร์ (Live View) มุมมองนี้จะแสดงเว็บเพจเหมือนกับหน้าที่แสดงผลในบราวเซอร์ สามารถแสดงผลจากคำสั่ง JavaScript และ Plug-in ต่างๆ ที่นำมาใช้งาน
- มุมมองแสดงผลหน้าเว็บที่จัดรูปแบบด้วย CSS (Inspect) มุมมองนี้จะแสดงผลร่วมกับ Live View ซึ่งเป็นมุมมองที่ใช้ในการตรวจสอบการจัดรูปแบบด้วยคำสั่ง CSS ในตำแหน่งที่เม้าส์เลื่อนผ่านโดยสามารถดูได้จากพาเนล CSS Style
        การออกจากโปรแกรม
เมื่อเปิดใช้งานโปรแกรมเสร็จแล้ว ต้องการที่จะปิดหรือออกจากโปรแกรม สามารถทำได้หลายๆ วิธี ดังนี้
1. คลิกที่ปุ่ม Close บน Control Box ดังรูป
            
2.คลิกเลือกที่ปุ่ม  บนไตเติ้ลบาร์ แล้วทำการเลือกคำสั่ง Close ดังรูป
             
3. คลิกเลือกที่เมนู File >> Exit ดังรูป หรือใช้แป้นคีย์ลัด Ctrl + Q
              

http://nanacomputer.com/เริ่มต้นกับการใช้งาน-adobe-dreamweaveer/ อ้างอิง